พระไตรปิฎก ภาคเสียงอ่าน ฉบับมหาจุฬาฯ บทธรรม อ่านโดย อาจิต โตเกียรติรุ่งเรือง



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ ชาดก ภาค ๑
(ตัวอย่างบางตอนของ พระไตรปิฎก ภาคเสียงอ่าน บทธรรมอ่านโดย อาจิต โตเกียรติรุ่งเรือง)

พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่บรรจุคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า พุทธธรรม คำว่าพระไตรปิฎก มาจากภาษาบาลี ติปิฏก แปลว่า ตะกร้าสามใบ หรือคำสอนสามหมวด (ติ หมายถึง สาม ปิฏก หมายถึง ตำรา คัมภีร์ หรือกระจาด) ซึ่งคำสอนสามหมวดนี้ ได้แก่
พระวินัยปิฎก หรือ พระวินัย ได้แก่ประมวลระเบียบข้อบังคับของบรรพชิตที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุและภิกษุณี

พระสุตตันตปิฎก หรือ พระสูตร ได้แก่ประมวลพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยังที่ต่างๆ ให้เหมาะกับบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์ มีเรื่องราวประกอบ

พระอภิธรรมปิฎก หรือ พระอภิธรรม ได้แก่ประมวลคำสอนที่เป็นหลักวิชาการล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ ไม่มีเรื่องราวประกอบ
พระไตรปิฎกมีเนื้อหารวมทั้งสิ้น 84,000 ธรรมขันธ์ ฉบับพิมพ์ภาษาไทยนิยมจัดแยกเป็น 45 เล่ม เพื่อหมายถึงระยะเวลา 45 พรรษาแห่งพุทธกิจ



พระไตรปิฎกภาษาไทย ภาคเสียงอ่าน
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
อ่านโดย อาจิต โตเกียรติรุ่งเรือง




สมบูรณ์ทั้งสามปิฎก ครบถ้วนทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ตามคำสอนของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บันทึกเสียงอ่านลงบนแผ่นซีดี mp-3 ทั้งหมด ๑๓๕ แผ่น รวมความยาว ๘๖๒ ชั่วโมง พร้อมดนตรีประกอบ และหนังสือคู่มือหนึ่งเล่ม เหมาะที่จะนำไปน้อมถวายแด่ พระคุณเจ้า พระภิกษุสงฆ์ ที่วัด สำนักปฏิบัติธรรม วิทยุชุมชนธรรมะ หรือมีไว้ที่บ้าน เพื่อสะดวกในการฟังพระธรรมได้ทุกเวลาที่ต้องการ เป็นบุญเป็นกุศลอย่างยิ่งที่จะได้ฟังได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยตรงจากพระไตรปิฎก ทั้งยังได้ความเพลิดเพลินในขณะฟังด้วย ยิ่งไปกว่านั้นคือ เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยกันจรรโลงรักษาไว้ซึ่งพระธรรมคำสอนของ พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ให้คงอยู่อย่างครบถ้วนสืบไปตลอดกาลนาน ด้วยการช่วยกันฟัง ศึกษาให้รู้ และจดจำนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ความทุกข์ประจำในชีวิตของตนๆ ลดน้อยถอยลงไป ขณะเดียวกันความสุขสงบเยือกเย็นในการดำเนินชีวิตก็จะมีมากขึ้นตามลำดับ จนถึงกับหมดความทุกข์น้อยใหญ่ได้ในที่สุด และนี้คือบุญกุศลและประโยชน์สูงสุดของการได้ศึกษาเรียนรู้ธรรมะคำสอนของพระพุทธองค์ ผู้ทรงเป็นที่พึ่งอันประเสริฐสูงสุดของชาวเราทั้งหลาย

สอบถามเพิ่มเติม

โทร. ๐๒ – ๓๙๗ – ๒๔๐๐